การทำเสริมกำลังด้วยวิธี Column Jacketing

1. สภาพเสาที่มีปัญหาของอาคารเดิมที่มีการต่อเติม ทรุดแต่มองเห็นรอย Crack เพียงเล็กน้อยที่ตำแหน่งเสาวิบัติ

2. ทำการเก็บสำรวจวัดค่าความดิ่ง

3. ตรวจสอบรอยร้าวที่เกิดขึ้น รอยร้าวที่เห็นเป็นรอยร้าวจาก Settlement ของอาคารส่วนต่อเติม

4. ต้นเสาตำแหน่งมุม เป็นสาเหตุที่ทำให้อาคารทรุด เนื่องจากความลึกของเสาเข็มไม่เท่าอาคารเดิม

5. ยกตัวอย่างเช่นในรูปจะเห็นรอยร้าวที่เป็นรอยร้าวขนาดเล็ก คล้ายกับรอยร้าวของ งานสถาปัตย์ ซึ่งอาจจะหลอกผู้
สำรวจได้

6. แต่เนื่องจากมีรอยร้าวเป็นมุมทแยงปรากฏขึ้นเนื่องจากการทรุดตัว จึงควรตั้งข้อสงสัยว่าอาจจะเกิดรอยร้าวจากการ
ดัดที่โครงสร้างเสาด้วยเช่นกัน

7. ทำการสกัดกระเทาะ ผิวฉาบ จะเห็นรอยร้าวจากการดัดของเสาที่เป็นผลมาจากการทรุดตัวของเสาเข็ม

8. เปิดแผลที่กระเทาะให้ทั่วบริเวณ

9. ทำการเสริมเสาเข็ม โดยใช้ ไฮดรอลิค กด หรือที่เรียกว่า Hydraulic Jack in pile

10. เมื่อกดเสาเข็มแล้วเสร็จ ดำเนินการทำฐานรากใหม่ โดยตัดชิ้นส่วนของฐานรากเดิมทิ้งทั้งหมด ไม่ให้เชื่อมกันกับ
ส่วนต่อเติม

11. เทคอนกรีตแล้วเสร็จ แกะแบบ ตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของฐานรากก่อนทำการถมดิน

12. ทำการเสริมโครงสร้าง โดยใช้วิธี Column Jacketing

13. ทำการเจาะเหล็ก เสียบยึดเข้ากับอาคารเดิม

14. ทำการเข้าแบบเสาและติดตั้งค้ำยัน

15. เทคอนกรีตแล้วเสร็จ แกะแบบ พันพลาสติกบ่ม